แบบจำลองเครือข่าย
องค์กรกำหนดมาตรฐานสากลหรือ ISO จัดเป็นองค์กรหนึ่งที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานสากล โดยในปี ค.ศ. 1970 ทาง ISO ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อสร้างแบบจำลองสถาปัตยกรรมเครือข่าย ขึ้น เพื่อใช้เป็นรูปแบบมาตรฐานในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า แบบจำลอง OSI (Open Systems Interconnection) และในปี ค.ศ. 1984 ก็ได้มีการประกาศใช้แบบจำลอง OSI อย่างเป็นทางการเพื่อใช้เป็นแบบอ้างอิงเครือข่ายมาตรฐานสากลคำว่า Open Systems ก็คือ ระบบเปิด ซึ่งหมายความว่าอนุญาตให้ระบบสามารถสื่อสารกันได้ถึงแม้ว่าอุปกรณ์จะมีรูป แบบทางสถาปัตยกรรมระบบที่แตกต่างกัน กล่าวคือมาตรฐานแบบจำลอง OSI ที่จัดทำขึ้นมานั้น มีจุดประสงค์เพื่อให้ระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารร่วมกันได้ ด้วยมาตรฐานการสื่อสารที่เป็นสากล โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปเปลี่ยนแปลงตรรกใด ๆ บน บนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
แบบจำลอง OSI หมายถึง แบบจำลองสถาปัตยกรรมเครือข่าย เพื่อใช้เป็นรูปแบบมาตรฐานในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ จุดประสงค์เพื่อให้ระบบที่แตกต่งกันสามารถสื่อสารร่วมกันได้ ด้วยมาตรฐานการสื่อสารที่เป็นสากล
อย่างไรก็ตาม แบบจำลอง OSI มิใช่โพรโทคอล แต่เป็นเพียงแบบจำลองแนวคิด ซึ่งเป็นเพียงทฤษฎีที่ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของแต่ละชั้น สื่อสาร เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ออกแบบระบบสื่อสาร ทั้งนี้แบบจำลอง OSI ยังถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานความยืดหยุ่นและคงทนต่อการนำไปประยุกต์ใช้งาน โดยแต่ละชั้นสื่อสารยังสามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างเหมาะสม
แบบจำลอง OSI
มีกรอบการทำงานด้วยการแบ่งเป็นชั้นสื่อสารที่เรียกว่าเลเยอร์ (Layer) แต่ละเลเยอร์จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน รวมถึงฟังก์ชันหน้าที่ที่รับมอบหมายในเลเยอร์นั้น ๆ โดยเฉพาะ ชั้นสื่อสารต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นจะถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสื่อสารร่วมกัน ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้นด้วยกันกคือ
1.ชั้นสื่อสารฟิสิคัล (Physical Layer)
2.ชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์ (Data Link Layer)
3.ชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์ก (Network Layer)
4.ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ต (Transport Layer)
5.ชั้นสื่อสารเซสชั่น (Session Layer)
6.ชั้นสื่อสารพรีเซนเตชั่น (Presentation Layer)
7.ชั้นสื่อสารแอปพลิเคชั่น (Application Layer)
แต่ก็ใช่ว่าเทคโนโลยีเครือข่ายทั้งหมดจะต้องอ้างอิงชั้นสื่อสารบนแบบ จำลอง OSI ครบทั้งเจ็ด เนื่องจากบางเทคโนโลยีอาจรวบชั้นสื่อสารบางชั้นมาเป็นเลเยอร์เดียวกัน หรืออาจข้ามการทำงานบางเลเยอร์กรณีเลเยอร์นั้นไม่จำเป็นต่อการใช้งาน
แนวความคิดในการแบ่งชั้นสื่อสาร
1.เพื่อลดความซ้ำซ้อน ทำให้เรียนรู้และทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
2.เพื่อให้แต่ละชั้นสื่อสารมีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนและแตกต่างกัน
3.เพื่อให้แต่ละชั้นสื่อสารปฏิบัติงานตามฟังก์ชันหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และสอดคล้องกับ มาตรฐานสากล
4.จากขอบเขตความรับผิดชอบในแต่ละชั้นสื่อสาร ทำให้การสื่อสารเกิดความคล่องตัว และเป็นการ ป้องกันกรณีเกิดการเปลี่ยนแปลงบนชั้นสื่อสารหนึ่ง ๆ แล้วส่งผลกระทบต่อชั้นสื่อสารอื่น ๆ
5.จำนวนชั้นสื่อสารจะต้องมีจำนวนมากเพียงพอ และเหมาะสมต่อการจำแนกหน้าที่การทำงานให้กับ แต่ละชั้นสื่อสาร และไม่ควรมีมากจนดูเทอะทะ เกินความจำเป็น
ชั้นสื่อสารในแบบจำลอง OSI (Layers in The OSI Model)
1. ชั้นสื่อสารฟิสิคัล (Physical Layer)
ชั้นสื่อสารฟิสิคับจะทำหน้าที่ประสานการทำงานในเรื่องของการส่งกระแสบิต (Bit Stream) บนสื่อกลางที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดทางกลไก และทางไฟฟ้าของการอินเตอร์เฟซและสื่อส่งข้อมูล รวมถึงข้อกำหนดด้านฟังก์ชันการทำงาน และขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ที่จะนำมาอินเตอร์เฟซเพื่อการส่งข้อมูล
2. ชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์ (Data Link Layer)
ชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์มีหน้าที่ส่งมอบข้อมูลในลักษณะ Hop-to-Hop (Node-to-Node) สำหรับหน่วยข้อมูลในชั้นนี้จะถูกจัดเก็บในรูปแบบของเฟรม (Frame) รับหน้าที่ว่าจะจัดส่งเฟรมไปยังเครือข่ายได้อย่างไร เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับมาจากชั้นสื่อสารฟิสิคัลนั้น อาจมีสัญญาณรบกวนหรือข้อผิดพลาดปะปนมาพร้อมกับสัญญาณข้อมูล ดังนั้นชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์จึงต้องมีกระบวนการตรวจจับ และแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านั้น เพื่อบริการแก่ชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์กที่อยู่สูงถัดไป
3. ชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์ก (Network Layer)
สำหรับชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์กจะรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งแพ็กเก็ตจากต้น ทางไปยังปลายทางผ่านเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายด้วยกัน ความแตกต่างระหว่างชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์และเน็ตเวิร์กก็คือ หน่วยข้อมูลบนชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์กจะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า แพ็กเก็ต (Packet) แต่ละแพ็กเก็ตจะถูกส่งไปยังปลายทาง ซึ่งระหว่างทางอาจมีเครือข่ายย่อยที่ลิงก์เชื่อมต่อมากมายรวมถึงการส่งข้าม เครือข่ายต่างชนิดกัน ในขณะที่ชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์จะมีหน่วยข้อมูลในรูปแบบของเฟรม ที่จัดส่งไปยังโหนดปลายทางภายในลิงก์เดียวกันเท่านั้น
4. ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ต (Transport Layer)
ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ตจะทำหน้าที่ส่งมอบข้อมูลในลักษณะ Process-to-Process คำว่าโพรเซสในที่นี้ก็คือโปรแกรมประยุกต์ใด ๆ ที่รันอยู่บนเครื่องโฮสต์ ดังนั้นหากมีโปรแกรมรันอนู่บนเครื่องโฮสต์หลาย ๆ โปรแกรม นั่นหมายถึงมีหลายโปรเซสรันอยู่ในขณะนั้น โดยการส่งข้อมูลแบบ Source-to-Destination บนชั้นส่อสารเน็ตเวิร์กซึ่งปกติจะรับส่งข้อมูลเพียงโพรเซสเดียว คงไม่สามารถรองรับการส่งมอบข้อมูลหลาย ๆ โพรเซสนี้ได้ ดังนั้นชั้นสื่อสารทรานสปอร์ตจึงต้องรับหน้าที่ในการส่งมอบข้อมูลระหว่างโพ รเซสจากต้นทางไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง
5.ชั้นสื่อสารเซสชัน (Session Layer)
การบริการบน 3 ชั้นสื่อสารแรก (ฟิสิคัล ดาต้าลิงก์ และเน็ตเวิร์ก) อาจไม่เพียงพอสำหรับบางโพรเซส ดังนั้นชั้นสื่อสารเซสชันขึ้นไปจึงทำหน้าที่บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ ใช้ชั้นสื่อสารเซสชันมีหน้าที่ควบคุมการสื่อสาร การจัดการแลกเปลี่ยนข่าวสารที่เกิดขึ้นระหว่างโฮสต์ โดยการสื่อสารที่กำลังดำเนินการอยู่ ณ ขณะใดขณะหนึ่งจะเรียกว่า เซสชัน ทั้งนี้หลาย ๆ เซสชันที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากการทำงานของคนเพียงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ตัวอย่างเช่น การล็อกอินแบบระยะไกลของเทอร์มินับเพื่อเข้าใช้บริการบนเครื่องโฮสต์ในแต่ละ ครั้ง ก็ถือเป็นเซสชั่นหนึ่งที่ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้การล็อกอิน > การกรอกรหัสผ่าน > การใช้โฮสต์ > การออกจากระบบหรือเซสชั่นของการสนทนาที่ประกอบด้วยขั้นตอนการเริ่มสนทนา > การสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล > การจบการสนทนาโดยหลังจากที่ได้สร้างเซสชันเรียบร้อยแล้ว การรับส่งข้อมูลก็จะเป็นหน้าที่ของชั้นสื่อสารทรานสปอร์ต
6. ชั้นสื่อสารพรีเซสเตชัน (Presentation Layer)
เป็นชั้นสื่อสารที่นำเสนอเกี่ยวกับการแปลงข้อมูลให้มีรูปแบบและความหมาย เดียวกัน กล่าวคือระบบคอมพิวเตอร์แต่ละระดับ อาจใช้รหัสแทนข้อมูลที่แตกต่างกันได้ เช่น บนพีซีคอมพิวเตอร์ก็จะใช้รหัส ACSII หรือ Unicode ในขณะที่เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ก็จะใช้รหัส EBCDIC ดังนั้นด้วยหน้าที่รับผิดชอบของชั้นสื่อสารพรีเซนเตชั่น จะทำให้ทั้งสองระบบที่ถึงแม้จะใช้รหัสแทนข้อมูลที่แตกต่างกันสามารถนำเสนอ ข้อมูลได้อย่างเข้าใจทั้งสองฝ่าย โดยจะมีกระบวนการแปลงข้อมูล (Translation) ให้สามารถนำเสนอได้อย่างถูกต้อง กล่าวคือ ฝั่งส่งจะส่งข้อมูลอะไรไปก็ตาม ฝั่งรับก็จะได้รับข้อมูลตามนั้นด้วย
7. ชั้นสื่อสารแอปพลิเคชัน (Application Layer)
เป็นชั้นสื่อสารระดับประยุกต์ที่มุ่งเน้นการติดต่อกับผู้ใช้ ที่อนุญาตให้ผู้ใช้ซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือซอฟต์แวร์สามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ โดยจะมียูสเซอร์อินเทอร์เฟซเพื่อสนับสนุนงานบริการต่าง ๆ เช่นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การติดต่อเครือข่ายแบบระยะไกลเพื่อเข้าถึงข้อมูลและถ่ายโอนข้อมูล การแชร์ฐานข้อมูลและการบริการอื่น ๆ เป็นต้น
แบบจำลองอินเทอร์เน็ต (Internet Model)
แบบจำลองอินเทอร์เน็ต หรือชุดโพรโทคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาก่อนแบบบจำลอง OSI ดังนั้น ชั้นสื่อสารของแบบจำลองอินเทอร์เน็ตจึงไม่ตรงกับแบบจำลอง OSI แต่ก็นับว่าเป็นความโชคดีที่แบบจำลองทั้งสองต่างก็มีหลักการทำงานที่คล้าย คลึงกันมาก
สำหรับต้นฉบับของแบบจำลองอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย 4 ชั้นสื่อสาร คือ
1.ชั้นสื่อสารโฮสต์ทูเน็ตเวิร์ก (Host-to-Network Layer)
2.ชั้นสื่อสารอินเทอร์เน็ต (Internet Layer)
3.ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ต (Transport Layer)
4.ชั้นสื่อสารแอปพลิเคชั่น (Application Layer)
โดยที่ชั้นสื่อสารโฮสต์ทูเน็ตเวิร์กเป็นการรวบชั้นสื่อสารฟิสิคัลและดา ต้าลิงก์เข้าด้วยกัน ชั้นสื่อสารอินเทอร์เน็ตก็คือชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์ก และชั้นสื่อสารแอปพลิเคชั่นก็จะรวบชั้นสื่สารเซสชั่น พรีเซนเตชั่นและแอปพลิเคชั่นเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้จะอ้างอิงแบบจำลองอินเทอร์เน็ตที่ประกอบด้วย 5 ชั้นสื่อสารด้วยกันคือ ชั้นสื่อสารฟิสิคัล ดาต้าลิงก์ เน็ตเวิร์ก ทรานสปอร์ต และแอปพลิเคชั่น
สรุป
การบวนการสื่อสารที่เริ่มจากฝั่งส่ง ที่มีการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากเลเยอร์หนึ่งไปยังเลเยอร์ถัดไปด้านล่างในรูป แบบ 7-6-5-4-3-2-1 ซึ่งแต่ละเลเยอร์จะเตรียมเฮดเดอร์เพื่อนำไปปะเพิ่มกับหน่วยข้อมูล เราเรียกกระบวนการนี้ว่า เอนแคปซูเลชัน (Encapsulation)
เมื่อสัญญาณถูกส่งผ่านลิงค์จะไปถึงจุดหมายปลายทาง หน่วยข้อมูลก็จะเคลื่อนย้ายย้อนกลับขึ้นไปตามลำดับ 1-2-3-4-5-6-7 จากนั้นแต่ละเลเยอร์ก็จะถอดเฮดเดอร์เฉพาะส่วนที่เป็นของตนออก เราเรียกกระบวนการนี้ว่า ดีแคปซูเลชัน (Decapsulation)
1.ชั้นสื่อสารฟิสิคัล (Physical Layer) มีหน้าที่เคลื่อนย้ายข้อมูลระดับบิตจากโหนดหนึ่งไปยังโหนด ถัดไป
2.ชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์ (Data Link Layer) มีหน้าที่เคลื่อนย้ายเฟรมจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดถัดไป
3.ชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์ก (Network Layer) มีหน้าที่ส่งมอบแพ็กเก็ตจากโฮสต์ต้นทางไปยังโฮสต์ปลาย ทาง
4.ชั้นสื่อสารทรานสปอร์ต (Transport Layer) มีหน้าที่ส่งมอบข่าวสารจากโพรเซสต้นทางไปยัง
โพรเซสปลายทาง
5.ชั้นสื่อสารเซสชั่น (Session Layer) มีหน้าที่ควบคุมการสื่อสารและการซิงโครไนซ์
6.ชั้นสื่อสารพรีเซนเตชั่น (Presentation Layer) มีหน้าที่แปลงข้อมูล เข้ารหัสข้อมูล และบีบอัดข้อมูล
7.ชั้นสื่อสารแอปพลิเคชั่น (Application Layer) มีหน้าที่จัดการงานบริการให้แก่ผู้ใช้
เเหล่งอ้างอิง
https://sites.google.com/site/networkcound/baeb-calxng-kherux-khay
https://13fecc1f-a-62cb3a1a-s-sites.googlegroups.com/site/networkcound/baeb-calxng-kherux-khay/OSI_model.jpg?attachauth=ANoY7cqMrHXrlQ42glhnAsFT3nG96OJIxELnIBkbQ-RkI_Xwy6ijnoGwA8hG_Nj3BX0csY6AAEnmr00JnEUkGsy9WFY7f3Oq_k9ulQfsosYVXGDUaHr_xJq-lU4nVEF10cT63jC7LGSXiZlSvFeidJ8SwkopCpZJ60YfSyZPZgmHvjFAS1KUNnRkH5UJlNK4ssxY6ImQGSG5qe6tE_FbfIxVWjC7QeC8kqlFk_m7p02IWJkEWs2Rur01-gz1VeBo7TFCEgfAspp0&attredirects=0
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEim4AblA-CI7Lijxlby498yOdJkAxYxGYD-NryUL7nnDODPGI1cd8FH_OvlF1rVi8WUpkq1NrATkPJ9KYfOBnkEpwaf1TBldkYgWDHJVjShyo3rUUuEw-QiM4sN6-PcmenoB_w7AWPmjKc/s1600/2014-04-24-dia-mundial-da-internet-segura_g.jpg
http://cms.toptenthailand.net/file/picture/20160215140111915/20160215140111915.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjIxlDlQsrvVI7wUo0LD8mfUgrt1E-efvgZtBH43e0QuNaZWZTGTEW8hwnvCDyAHDnuFFrEoSs8pUPQ2EtE6hvE0aplMf2Wsp0YvJPorRUqHcQksgfsBxHNo0EGxeOVR-5FaNRCp-NfO6ou/s1600/osi-model.jpg
http://protechcs.com/wp-content/uploads/2014/09/network_fitted.png
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjIzogRSHF6GDLU9Bt2hz3Dcp53pn4opZ4-CufPrK8CPy_yhh8sBCDtpsKs-PLZ0YOoc9CeqRv7DJm0NUG09P3k8bx32RYG6-GmUePTGC0hkY8BeN1etWZqAHgGkPYYNusndZj2xPfUwFmr/s1600/a27%255B1%255D.gif
https://sites.google.com/site/jidapawsk/_/rsrc/1294128184315/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-4-osi-model/4-1-physical-layer/a26.gif
http://www.daydev.com/images/stories/OSI-model/7-layers.jpg
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น